Loading..
  • 24/7 Support

    Call (347) XXX-XXXX

  • Best Support

    support@hostingrobotik.com

สร้าง แก้ไขและการแบ่งปัน ทำอย่างไร 0 0

Last updated on Jul 11, 2022 10:35 in คู่มือการใช้งาน G-suite
Posted BySale

Google Sites เป็นแอปพลิเคชันที่ทำให้การสร้างเว็บไซต์สำหรับองค์กรเป็นเรื่องง่ายเหมือนกับการสร้างเอกสารธรรมดา สามารถใช้ Google Sites เพื่อเป็นที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ของทีม ไม่ว่าจะเป็น วิดีโอ ปฏิทิน พรีเซนเทชัน ไฟล์งานต่างๆ รูป หรือเอกสารทั่วไป และยังง่ายต่อการแบ่งปัน เปิดดูรวมถึงการแก้ไขเว็บไซต์ร่วมกันภายในกลุ่มเฉพาะ หรือทั้งองค์กร หรือแม้แต่กับคนจากทั่วโลก ในเชิง ธุรกิจ คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ในลักษณะของเว็บไซต์โครงการ อินทราเน็ต หรือเว็บไซต์ที่ใช้ติดต่อกับบุคคลภายนอก

เอกสารนี้จะแนะนำการใช้งานเบื้องต้นในเรื่องของการสร้างและการตั้งค่าต่างๆ สำหรับองค์กร โดยจะมีหัวข้อดังต่อไปนี้

  • การสร้างเว็บไซต์ใหม่
  • การเพิ่มหน้าใหม่และการแก้ไข
  • การแทรกแผนที่, ฟอร์ม, วิดีโอ และอื่นๆ
  • การแทรกปฏิทิน, สเปรดชีท และเอกสาร Google Docs อื่นๆ
  • การปรับแต่งการจัดวางและหน้าตาของเว็บไซต์
  • การแบง่ปันเว็บไซต์สำหรับการใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์กรหากคุณเป็นผู้ดูแลระบบ Google Apps ขององค์กร คุณสามารถเข้าเยี่ยมชมหน้าเว็บ Google Sites overview สำหรับผู้ดูแลระบบที่ เป็นข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์สำหรับองค์กร

เริ่มต้นใช้งานไซต์

ในการสร้างเว็บไซต์ใหม่หรือเปิดดูรายชื่อเว็บไซต์ที่คุณเป็นเจ้าของหรือเว็บไซต์ที่คุณมีสิทธิ์ที่จะแก้ไขได้นั้น สามารถทำได้โดย

  • เปิดโดยตรงไปยังหน้า Google Sites พิมพ์ https://sites.google.com/ ที่ช่อง URL บนเว็บเบราเซอร์
  • เปิดจากหน้าเซอร์วิสอื่นๆ ของ Google

หากคุณได้ลงชื่อเข้าใช้แอปพลิเคชันใดๆ ก็ตามด้วยบัญชี Google Apps สามารถคลิกที่ปุ่ม แอป () บริเวณมุมบน ขวาของหน้าจอ จากนั้นเลือก ไซต์ (Sites) เพื่อเข้าสู่หน้าแสดงรายชื่อเว็บไซต์

หากคุณไมเ่ห็นลิงค์ไปยังไซต์ กรุณาติดต่อผู้ดูแลระบบของคุณว่าคุณได้รับสิทธิ์การใช้งานเว็บไซต์หรือไม่

สร้างเว็บไซต์ใหม่

ที่แถบด้านล่างในหน้าเว็บไซต์ คลิกปุ่ม สร้าง (Create) เพื่อสร้างเว็บไซต์ใหม่

 

การใช้แม่แบบ (เทมเพลต) สำหรับไซต์

ตัวเลือกการสร้างเว็บไซต์จากแม่แบบ จะทำให้คุณสามารถเลือกแม่แบบของเว็บไซต์จากทั้งเฉพาะภายในองค์กรและจากภายนอก ได้มากมาย หลากหลายวัตถุประสงค์ เช่น เว็บไซต์ธุรกิจ เว็บไซต์โครงการ เว็บไซต์อินทราเน็ต เว็บไซต์การอบรม เว็บไซต์เฉพาะ สำหรับสมาชิก หรือเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์กิจกรรม เป็นต้น โดยแต่ละแม่แบบจะแตกต่างกันที่การจัดวาง จำหนวนหน้า ส่วนประกอบในแต่ละหน้า หน้าตา และสีสรร

  • หากต้องการสร้างเว็บไซต์จากแม่แบบ คลิกที่ เลือกดูเพิ่มเติมในแกลเลอรี่ (Browse the gallery for more) จากนนั้คุณ สามารถค้นหาแม่แบบสำหรับเฉพาะภายในองค์กรของคุณ หรือเลือกค้นหาจากแม่แบบสาธารณะก็ได้
  • การต้องการสร้างเว็บไซต์เปล่า เพื่อทำการปรับแตง่ด้วยตัวคุณเอง เลือก แม่แบบว่างเปล่า (Blank template)

 

การตั้งชื่อไซต์

คุณสามารถตั้งชื่อไซต์ของคุณเป็นชื่ออะไรก็ได้ (ภาษาใดก็ได้) โดยเบื้องต้น ชื่อนี้จะถูกแปลงให้เป็นชื่อ URL ของเว็บไซต์ด้วย ดังนั้น ชื่อไซต์กับชื่อ URL ของไซต์อาจแตกต่างกัน หากคุณต้องการแก้ไขชื่อ URL สามารถทำได้โดยที่ช่อง ตำแหน่งของไซต์ (Site location) พิมพ์ชื่อ URL ที่ต้องการสำหรับไซต์ของคุณ

ชื่อ URL ของไซต์จะต้อง

  • ไม่ซ้ำกับชื่อไซต์อื่นๆ ในองค์กร
  • ไมซ้ำกับชื่อบญัชีผ้ใูช้ใดๆ ในองค์กร ยกเว้นชื่อบัญชีของคุณเอง
  • ใช้ตัวอักษร A-Z, a-z, 0-9 และ – เท่านั้น

ชื่อไซต์และชื่อ URL ของไซต์ จะต้องเป็นชื่อที่ไมซ้ำกับชื่ออื่นๆ ในองค์กร โดยที่คุณสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อไซต์ภายหลังได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชื่อ URL ของไซต์ได้

คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ให้มี URL เป็นชื่อองค์กรของคุณเลย ในลักษณะ www.yourcompany.com สามารถทำได้โดย ต้องใช้ความช่วยเหลือจากผู้ดูแลระบบของคุณ (ศีกษาเพิ่มเติมจาก create a custom web address)

 

เลือกธีมของไซต์

เลือกธีม หรือรูปแบบและสีสรรของไซต์ โดยแตล่ะแบบจะมีการตั้งค่าพื้นหลัง สี และฟอนต์ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้คุณสามารถ ปรับเปลี่ยนได้ทั้งพื้นหลัง สีและฟอนต์ หรือเปลี่ยนทั้งธีมในภายหลังก็ได้                                                                                                          หมายเหตุ: หากคุณสร้างไซต์จากแม่แบบ แม่แบบนั้นๆ อาจมีการเลือกธีมใดธีมหนึ่งไว้แล้ว ดังนั้นหากคุณเลือกใช้ธีมร่วมกับการ เลือกแม่แบบ อาจทำให้ผลลัพธ์ผิดเพยี้นไปจากแม่แบบเดิมได้

ที่หัวข้อ ตัวเลือกเพิ่มเติม (More options) คุณสามารถ จัดหมวดหมู่ไซต์ รวมถึงเพิ่มเติมคำอธิบายรายละเอียดของไซต์ เพื่อช่วยให้ ง่ายต่อการค้นหา โดยทั้งการเลือกหมวดหมูและคำอธิบายไซต์ เป็นตัวเลือกที่คุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง จากเมนู จัดการไซต์ > ทั่วไป (Manage Site > General)

เมื่อเลือกทุกอย่างที่ต้องการแล้ว กดปุ่ม สร้าง (Create) บริเวณด้านบนของหน้า จากนั้นจะปรากฏเว็บไซต์ใหมข่องคุณ

การเพิ่มหน้าในไซต์ ในครั้งแรก (กรณีเลือกไม่เลือกแม่แบบไซต์) ไซต์ของคุณจะมีหน้าแรก (Home) เบื้องต้นให้เพียงหน้าเดียว          คุณสามารถสร้างหน้าเว็บ เพิ่มเติมได้

1. คลิกที่ปุ่ม หน้าเว็บใหม่ (New page) รูปแผ่นกระดาษมีเครื่องหมาย + ที่บริเวณด้านล่างของหน้า

2. ในหน้าถัดไป พิมพ์ชื่อของหน้า โดยที่ URL ของหน้าจะถูกสร้างให้โดยอัตโนมัติ โดยที่คุณสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อ URL ของหน้านี้ได้ (ชื่อ URL ของหน้าจะแตกต่างจากชื่อ URL ของไซต์ตรงที่ ชื่อ URL ของหน้า สามารถแก้ไขภายหลังได้จาก เมนูรูปเฟือง > การตั้งค่าหน้าเว็บ > URL ของหน้าเว็บ (More > Page settings > Page URL)

3. เลือกเทมเพลตของหน้าเว็บ โดยจะมีประเภทต่างๆ ของหน้าที่เหมาะกับเนื้อหาในแต่ละหน้าที่แตกต่างกัน

3. โดยทั่วไป การใช้งาน หน้าเว็บ (Web Page) จะถูกใช้งานเป็นส่วนใหญ่ โดยจะเป็นหน้าเปล่าๆ ที่คุณสามารถเพิ่ม ตัวอักษร รูปภาพ รวมทั้งแทรกคอนเทนต์ประเภทอื่นๆ ได้ตามความต้องการ ส่วนแม่แบบหน้าอื่นๆ จะทำเพื่อวัตถุประสงค์ เฉพาะทางมากขึ้น (คุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของแม่แบบได้ โดยคลิกที่ เรียนรู้เพิ่มเติม (Learn more) เพื่อเปิดไปยังหน้า guide to different page types)

หากคุณได้สร้างหน้าเว็บใดๆ ไว้แล้วต้องการจะใช้งานซ้ำอีกในภายหลัง สามารถสร้างเป็นแม่แบบของคุณเองได้ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ create a page template

4. เลือกตำแหน่งการวางของหน้าเว็บภายในไซต์ของคุณ โดยสามารถวางไว้ระดับบนสุด (Top level) หรืออาจวางไว้ภายใต้ หน้าอื่นๆ ที่สร้างไว้ก่อนแล้ว

การวางหน้าไว้ใต้หน้าอื่นๆ จะมีผลกับชื่อ URL ของหน้านั้นๆ และยังเพิ่มลิงค์สำหรับหน้าย่อยเพื่อกลับไปยังหน้าเว็บ ด้านบนด้วย ซึ่งคุณสามารถซ่อนลิงค์นี้ได้ ที่ ปุ่มรูปเฟือง > การตั้งค่าหน้าเว็บ > แสดงลิงก์ไปยังหน้าเว็บย่อย (More > Page Settings > Show links to sub-pages) อย่างไรก็ตาม คุณสามารถจัดการหรือเปลี่ยนแปลงลำดับของหน้านี้ ภายหลังได้ ที่ การจัดการไซต์ > หน้า (Manage Site > Pages)

5. กดปุ่ม สร้าง (Create) ที่ด้านบน เพื่อสร้างหน้าเว็บใหม่ และเข้าสู่การแก้ไขหน้าเว็บใหม่ทันที

การแก้ไขหน้าเว็บ Google Sites สามารถสร้างและแก้ไขได้อย่างง่ายดาย โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการทำเว็บหรือการเขียนโปรแกรมแต่อย่างใด เพราะการแก้ไขหน้าเว็บก็เหมือนการแก้ไขเอกสาร และยังสามารถเพิ่มเติมคอนเทนต์อื่นๆ ไห้หลากหลายมากกว่าจะเป็นแค่ตัวอักษร

กรณีที่คุณมีความรู้เกี่ยวกับ HTML, CSS หรือ Javascript คุณยังสามารถแก้ไขเพิ่มเติมหน้าเว็บของคุณได้โดยตรงจากตัวเลือก       ดังต่อไปนี้

1. ที่หน้าเว็บ คลิกที่ปุ่ม แก้ไขหน้าเว็บ (Edit page) รูปดินสอบริเวณมุมบนขวาของหน้าเว็บ จะแสดงหน้าเว็บในโหมดการ แก้ไข (หรือถ้าคุณสร้างหน้าเว็บใหม่ จะเข้าสู่หน้าแก้ไขโดยอัตโนมัติ)

2. เลือกใช้คำสั่งต่างๆ ได้จากทูลบาร์ โดยคุณสามารถเพิ่มตัวอักษร แทรกตาราง หรือปรับแต่งการจัดวาง

  • เมนู การออกแบบ (Layout) ทำให้คุณสามารถแบ่งส่วนหน้าหน้าเว็บเป็นหลายๆ ส่วน เช่นการแบ่งคอลัมน์ การเพิ่มแถบ ด้านข้าง หรือแบ่งเป็นบรรทัด
  • คุณสามารถเพิ่มลิงค์ (add links to your page) ไปยังหน้าเว็บภายในไซต์ หรือหน้าเว็บจากเว็บไซต์ภายนอกโดยใช้ปุ่ม ลิงก์ (Link)
  • กดที่ปุ่ม แก้ไขต้นฉบับ HTML (<HTML>) เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม HTML หรือ CSS ในหน้าเว็บโดยตรง หรือสามารถเพิ่ม Javascript โดยการใช้ กล่อง HTML (HTML Box) ภายใต้หัวข้อ Gadgets ได้ (ศึกษาเพิ่มเติมจาก more advanced coding)

การแทรกวัตถุ, แอปพลิเคชัน และ gadgets เพิ่มเติม

ภายใต้เมนู แทรก (Insert) คุณสามารถแทรกวัตถุ, แอปพลิเคชันและ gadget อื่นๆ เพิ่มเติมได้อีก เช่น แทรกแผนที่ ปฏิทิน หรือ เอกสาร Google Docs เป็นต้น

ตัวอย่างแอปพลิเคชันและ gadget ที่ใช้งานบ่อยๆ ได้แก่

  • ปฏิทิน: แบ่งปันปฏิทิน นัดหมาย กิจกรรม กำหนดการ หรือเส้นตายโครงการกับทีมของคุณ
  • ไดรฟ์: แทรกเอกสารจากไดรฟ์ ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร, สเปรดชีท, งานนำเสนอ รวมถึงฟอร์ม และเมื่อเอกสารดังกล่าวมีการ แก้ไข บนหน้าเว็บก็จะมีการอัปเดตให้โดยอัตโนมัติ
  • แผนที่: แทรกแผนที่ตำแหน่งที่หมายต่างๆ โดยแสดงในรูปแบบแผนที่โดยตรงแทนการแสดงเพียงที่อยู่เท่านั้น  Youtube: แทรกวิดีโอลงบนเว็บไซต์
  • ไฟล์ที่อัปเดตเมื่อเร็วๆ นี้: ลิสต์ของไฟล์ที่มีการอัปเดตล่าสุด โดยการเพิ่มหรืออัปเดตมาในไซต์

คลิกที่ แกดเจ็ตอื่นๆ (More gadgets) เพื่อแสดงส่วนเพิ่มเติมอื่นๆ ทั้งที่สร้างโดย Google หรือนักพัฒนาทั่วไป โดยแต่ละ gadget จะแสดงพรีวิวให้ดูก่อนเลือกใช้งานจริง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Adding Docs, Calendars, and other gadgets

การปรับแต่งไซต์

จากเมนู แก้ไขการออกแบบไซต์ คุณสามารถแก้ไขเลย์เอาท์ของไซต์ เพิ่มโลโก้บนส่วนบน หรือจัดการเมนูหน้าเว็บในไซต์ได้

ศึกษาเพิ่มเติมที่ Changing your Site’s layout และ Changing your Site’s appearance

การแ#

** The time is base on UTC timezone