Plesk คือ control panel ที่กำลังได้รับความนิยม เพราะมี interface ที่สวยกว่าหากเทียบกับ 2 เจ้าด้านบน และจุดแข็งของ Plesk คือด้าน Security ที่มีระบบป้องกันการถูกเจาะระบบ ได้ดีกว่า DirectAdmin โฮสในเมืองไทยที่ใช้ Plesk เช่น Hostatom, bangmodhosting, Z.com เป็นต้น หน้าตาระบบหลังบ้านจะประมาณนี้
เข้าสู่ระบบ ผ่านทาง Control panel URL
หากเราเปิดใช้บริการโฮสติ้ง ไม่ว่าเราจะใช้บริการกับเจ้าใดก็ตาม คุณจะได้รับอีเมลที่เป็นข้อมูลสำหรับการใช้งาน Web hosting โดยมากจะมาในชื่อ New Web Hosting Account Information
เราจะเจอหน้าเข้าสู่ระบบ ให้เอา Username กับ Password ที่ได้รับจากอีเมลมาใส่ครับ
หากเราจดโดเมน และเช่าโฮสติ้งกับผู้บริการเจ้าเดียวกัน ในการจดโดเมนครั้งแรก ชื่อโดเมนจะถูกเพิ่มเข้าไปในโฮสโดยอัตโนมัติ แต่หากเราจดโดเมนจากที่อื่น หรือจดโดเมนเพิ่ม เราต้องเป็นคนเพิ่มโดเมนเข้าไปยังโฮสติ้งเอง เพราะทางโฮสติ้ง เขาไม่มีทางรู้ว่า โดเมนที่จดใหม่นี้ จะไปรันที่โฮสไหนได้ครับ
1.คลิก Add Domain
2.จากนั้นให้พิมพ์ชื่อโดเมนที่ต้องการเพิ่มลงไป
3.ติ๊กเปิดใช้งาน Let’s Encrypt เพื่อทำเว็บให้เป็น HTTPS ด้วย จากนั้นคลิก ok ครับ
Sub domain คือ โดเมนย่อย สำหรับการแบ่งหมวดหมู่เว็บ เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจง่ายๆ สำหรับเว็บที่มีเนื้อหาคอนเทนต์ที่หลากหลาย เช่น เว็บ kapook จะแบ่งหมวดหมู่เนื้อหา เป็นเว็บใหม่แยกขาดจากเว็บหลัก แต่สร้างบน Subdomain แทน
1.หลักจากเข้าสู่ระบบ Plesk คลิกเลือกชื่อโดเมนที่เราต้องการสร้าง Subdomain จากนั้นให้คลิก Add Subdomain
2.พิมพ์ชื่อ Subdomain ที่ต้องการลงไป และอย่าลืมติ๊กเปิดใช้งาน SSL Let’s Encrypt เพื่อทำ HTTPS คลิก OK เป็นอันเรียบร้อย สำหรับการสร้าง Subdomain บน Plesk ครับ
สำหรับขั้นตอนต่อมาถือเป็นขั้นตอนสำคัญเลย เพราะคุณจะไม่สามารถสร้างเว็บต่อได้หากคุณยังไม่ลง WordPress ขั้นตอนลง WordPress บน Plesk มีดังนี้ครับ
1.เลือกชื่อโดเมน หรือซับโดเมน ที่คุณต้องการ จากนั้นให้คลิกที่ install WordPress
2.สำหรับหน้าตั้งค่า ให้เลือกการตั้งค่าตามรูปตัวอย่างได้เลยครับ
3.ระบบของ Plesk จะถามเราว่าลงปลั๊กอินอะไรเลยมั้ย ตรงจุดนี้ให้เราคลิก No, thanks ไปก่อนครับผม
4.เราก็ลองเช็คดูว่าตัว WordPress ที่เราลงไป แสดงผลหรือไม่ ให้คลิกที่ open site ได้เลยครับ
WordPress จะทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ PHP 7 ขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งโดยมาค่าเริ่มต้นของโฮสส่วนใหญ่ก็เซ็ทมาเป็น PHP7 กันอยู่แล้ว แต่เพื่อความชัวร์ เราลองมาดูกันดีกว่า ว่าการเปลี่ยนค่า PHP Version บน Plesk เราจะได้ปรับตรงจุดไห
1.เข้าไปที่ชื่อโดเมนของเรา คลิกที่ PHP Settings
2.ข้อดีของ Plesk เขามี PHP version มาให้เราเลือกใช้งานถึง 4 เวอร์ชั่น
จุดเด่นของ Plesk อีก 1 จุดที่ผมชอบ คือเราสามารถทำ SSL ผ่าน Let’s Encryption ได้ง่ายๆ มากด้วยการคลิกแค่ครั้งเดียว ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้ครับ
1.ไปที่ชื่อโดเมนที่ต้องการ คลิกที่ Let’s Encrypt
2.จากนั้นให้ใส่ชื่อโดเมน และคลิก install ได้เลยครับผม
สำหรับคนที่ใช้ Subdomain เป็นที่ฝึกทำเว็บไซต์ ข้อดีคือเราทำทุกอย่างออนไลน์ ทำบนคอมเครื่องไหนก็ได้ แต่ข้อเสียเมื่อทุกอย่างออนไลน์ ตัว Google bot ย่อมวิ่งมา index ข้อมูลบนเว็บเราด้วย ดังนั้นสำหรับเว็บที่สร้างบน Subdomain ที่ใช้ไว้สำหรับฝึกซ้อม เราควรทำ Search engine no indexing ไว้ก่อนด้วย
พอเรารันเว็บบนโดเมนจริง เราค่อยเปิดให้ Google มา index เว็บเราตามปกติ ขั้นตอนทำ No index บน Plesk มีขั้นตอน ดังนี้
ดูที่คำว่า Search engine indexing ให้เลื่อนปิดมาทางซ้าย เพื่อทำการ No index